PAT RED > PRODUCT STORY > Microwave vs. Infrared Sensors |
เซนเซอร์ประตูอัตโนมัติ
Microwave vs. Infrared Sensors: What’s the Difference
เซนเซอร์ประตูอัตโนมัติ
Microwave vs. Infrared Sensors: What’s the Difference
เมื่อพูดถึงประตูอัตโนมัติสำหรับใช้ภายใน หรือประตูออโต้ดอร์ ก็ต้องพูดถึงอุปกรณ์เสริมที่จะช่วยเปิด-ปิดประตูเพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย นั่นคือเซนเซอร์สำหรับประตูอัตโนมัติ โดยเซนเซอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งกับประตูอัตโนมัติที่ใช้ภายในหรือประตูออโต้ดอร์ ปัจจุบันนี้ประตูออโต้ดอร์สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันบ่อยครั้งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตามทางเข้าห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือตึกออฟฟิศสำนักงาน
ทั้งนี้เมื่อเลือกซื้อเซนเซอร์จะเห็นได้ว่าตามท้องตลาดจะมีให้เลือกระหว่างแบบไมโครเวฟและอินฟราเรด จึงอาจทำให้เกิดข้อสงสัยว่าแล้วทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกันอย่างไรและเมื่อไหร่จึงจะใช้งานแบบต่างๆ
วันนี้ PAT by B.L.T. จึงจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับคลื่นไมโครเวฟและรังสีอินฟราเรดเพื่อให้เลือกใช้งานกับเซนเซอร์ประตูอัตโนมัติได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
คลื่นไมโครเวฟและรังสีอินฟราเรด…คืออะไร
คลื่นไมโครเวฟและรังสีอินฟราเรด…คืออะไร
คลื่นไมโครเวฟและรังสีอินฟราเรดล้วนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Spectrum) จะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นแตกต่างกัน ครอบคลุมตั้งแต่คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ รังสีอินฟราเรด คลื่นแสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ และรังสีแกมมา ยิ่งความถี่ของคลื่นสูงขึ้น ความยาวคลื่นจะลดลง และยิ่งความถี่สูงมากขึ้น พลังงานหรือความร้อนที่แผ่ออกมาก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
สำหรับคลื่นไมโครเวฟนั้น จะมีความยาวคลื่นอยู่ที่ 1 มิลลิเมตร – 10 เซนติเมตร ซึ่งหากเทียบกับความยาวคลื่นอื่นๆ ในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้านั้น คลื่นชนิดนี้มีความยาวคลื่นสั้นมาก คลื่นไมโครเวฟที่เคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง อาจทะลุผ่านไป เกิดการสะท้อนหรือถูกดูดกลืน วัตถุที่เป็นโลหะจะสะท้อนไมโครเวฟทั้งหมดที่ตกกระทบ ส่วนวัตถุที่ไม่ใช่โลหะ เช่น แก้ว หรือพลาสติก ไมโครเวฟจะเคลื่อนที่ผ่านไปได้บางส่วน
สำหรับรังสีอินฟราเรด ซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อว่ารังสีความร้อน เป็นรังสีที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้แต่รู้สึกได้ผ่านความร้อนที่แผ่ออกมา ดังนั้น หากอยู่ในย่านความถี่ที่สูงพอ พลังงานก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย เช่น ความร้อนที่รู้สึกได้จากดวงอาทิตย์ รังสีอินฟราเรดมีความยาวคลื่นอยู่ที่ 700 นาโนเมตร – 1 มิลลิเมตรซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่สั้นกว่าไมโครเวฟ สสารทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -200 องศาเซลเซียสถึง 4,000 องศาเซลเซียส ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสิ่งไม่มีชีวิต จะปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมา นอกจากนั้นคุณสมบัติอีกประการของรังสีอินฟราเรดคือ ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ดังนั้นจึงมีการประยุกต์ใช้รังสีอินฟราเรดในอุปกรณ์ที่ตรวจจับผ่านความร้อน
การประยุกต์ใช้ไมโครเวฟและอินฟราเรดกับประตูอัตโนมัติ
การประยุกต์ใช้ไมโครเวฟและอินฟราเรดกับประตูอัตโนมัติ
อย่างที่ได้กล่าวไปในบทนำ คลื่นไมโครเวฟและรังสีอินฟราเรดได้นำมาประยุกต์ใช้กับเซนเซอร์สำหรับประตูออโต้ดอร์ในแง่ของเซนเซอร์ที่ทำงานเพื่อเปิด-ปิดประตู (Activation Sensor) และเซนเซอร์เพื่อความปลอดภัย (Safety Sensor) โดยทั้งเซนเซอร์ระบบไมโครเวฟ (Microwave Sensor) และเซนเซอร์ระบบอินฟราเรด (Infrared Sensor) สามารถเป็น Activation Sensor โดยการตรวจจับความเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต การทำงานจะทำงานโดยการแผ่คลื่นออกไปและสะท้อนกลับเพื่อจดจำตำแหน่งของวัตถุต่างๆ เมื่อมีวัตถุเคลื่อนที่เข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว ตำแหน่งของคลื่นที่สะท้อนกลับก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ตัวเซนเซอร์ก็จะรับรู้ว่ามีการเคลื่อนไหวภายในบริเวณนั้นและเปิดประตูออโต้ดอร์ ทั้งนี้สำหรับเซนเซอร์ระบบอินฟราเรด (Infrared Sensor) นั้น นอกจากจะสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่านการสะท้อนของคลื่นได้แล้ว ยังสามารถตรวจจับรังสีอินฟราเรดผ่านรังสีความร้อนที่แผ่ออกมาจากวัตถุต่างๆ จึงนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจจับการมีอยู่ผ่านการมองเห็นความร้อนที่แผ่ออกมา หมายความว่าสิ่งมีชีวิตที่เข้ามาในบริเวณการตรวจจับของเซนเซอร์เมื่อหยุดการเคลื่อนไหว เซนเซอร์ก็จะยังตรวจจับได้และจะไม่สั่งให้ประตูปิดทับ จึงเรียกเซนเซอร์ประเภทนี้ว่า เซฟตี้เซนเซอร์ (Safety Sensor) นั่นเอง
การติดตั้งเซนเซอร์สำหรับประตูออโต้ดอร์บานเลื่อน
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นเซนเซอร์ระบบไมโครเวฟหรือระบบอินฟราเรดก็สามารถเป็น Activation Sensor ได้ ความแตกต่างอยู่ที่ว่าเซนเซอร์ระบบไมโครเวฟสามารถตรวจจับได้ไกลกว่าเซนเซอร์อินฟราเรด จึงเหมาะกับการติดตั้งในพื้นที่สาธารณะที่มีคนเข้าออกบ่อยครั้ง เช่น ห้างสรรพสินค้า แต่เพราะเซนเซอร์ระบบไมโครเวฟสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวได้ไว จึงอาจทำให้ประตูเปิดโดยไม่ได้ตั้งใจ เมื่อเป็นเช่นนี้หากติดตั้งเซนเซอร์ระบบอินฟราเรดจะทำให้ตรวจจับได้แม่นยำกว่า นอกจากนี้หากต้องการติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก เซนเซอร์อินฟราเรดจะเหมาะสมกว่าเซนเซอร์ระบบไมโครเวฟ และหากต้องการเพิ่มความปลอดภัย เซนเซอร์อินฟราเรดยังสามารถเป็น Safety Sensor ที่จะช่วยเสริมด้านความปลอดภัยโดยการป้องกันการปิดทับของประตูเพิ่มขึ้นมาจากเซนเซอร์ระบบไมโครเวฟ เพราะคุณสมบัติที่แตกต่างกันของทั้งสองระบบจึงทำให้มีเซนเซอร์ประเภท 2-in-1 ขึ้นมา ซึ่งสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของคนและสิ่งของเพื่อควบคุมการเปิดของประตู และตรวจจับการมีอยู่ของคนและสิ่งของในรัศมีประตูเพื่อป้องกันประตูปิดทับเช่นกัน
การติดตั้งเซนเซอร์สำหรับประตูออโต้ดอร์บานสวิง
สรุป
สรุป
หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้และเรียนรู้การทำงานของคลื่นไมโครเวฟและรังสีอินฟราเรด รวมถึงการประยุกต์ใช้ในเซนเซอร์สำหรับประตูออโต้ดอร์แล้ว หลายๆ คนอาจยังไม่รู้ว่ายังมีการประยุกต์ใช้คลื่นไมโครเวฟและรังสีอินฟราเรดในอุปกรณ์เสริมอื่นๆ สำหรับระบบประตูอัตโนมัติอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นสวิตช์เปิด-ปิดประตูไร้สัมผัส หรือโฟโต้เซลล์เซนเซอร์ เป็นต้น ซึ่งล้วนใช้หลักการทำงานคล้ายกับการทำงานของเซนเซอร์ประตูออโต้ดอร์ที่ได้อธิบายไปในบทความนี้ สุดท้ายนี้ PAT by B.L.T. ผู้บุกเบิกด้านการนำเข้าสินค้าอัตโนมัติ มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมช่างติดตั้งที่พร้อมให้คำแนะนำและความช่วยเหลือตลอด ติดต่อได้เลยวันนี้