PAT RED > PRODUCT STORY > Automatic Gate Monsoon Season

ไขข้อข้องใจ…มอเตอร์ประตูใช้งานตอนน้ำท่วมได้หรือไม่
Safety Automatic Gate Use in Monsoon Season

ไขข้อข้องใจ…มอเตอร์ประตูใช้งานตอนน้ำท่วมได้หรือไม่
Safety Automatic Gate Use in Monsoon Season

         หน้าฝนทีไร ฝนตกหนักจนอยากติดตั้งประตูรีโมทสำหรับประตูรั้วจะได้เปิด-ปิดประตูได้อย่างอัตโนมัติ ไม่ต้องลงจากรถให้เปียกฝน แต่ในขณะเดียวกันก็กังวลว่าหากเกิดน้ำท่วมขังจะเกิดความเสียหายกับมอเตอร์ประตูหรือไม่ หากว่ากันตามมาตรฐานเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับมาตรฐาน IP Rating[1] ซึ่งคือค่ามาตรฐานที่ใช้ชี้วัดความสามารถในการป้องกันของแข็ง (เช่น ฝุ่น) และของเหลว (น้ำ) ของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับมอเตอร์ประตูอัตโนมัติก็มีค่ามาตรฐาน IP Rating ระบุมาเช่นกัน ผู้ใช้งานสามารถหาดูได้ในคุณสมบัติทางเทคนิคของมอเตอร์ประตูอัตโนมัติรุ่นนั้นๆ โดยค่า IP Rating จะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลัก เลขหลักแรกจะเป็นค่าระดับการป้องกันของแข็ง และเลขหลักที่สองจะเป็นค่าระดับการป้องกันของเหลว ดังรูปด้านล่าง

โดยทั่วไปแล้วมอเตอร์ประตูบานเลื่อนอัตโนมัติที่จำหน่ายโดย PAT by B.L.T. จะมีค่า IP Rating อยู่ที่ IP24 IP44 หรือ IP54 เมื่อเทียบกับตาราง IP Rating แล้ว จะพบว่าการที่อเตอร์ประตูมีค่าการป้องกันของเหลวอยู่ที่ระดับ 4 หมายความว่า “ป้องกันละอองน้ำที่ตกกระทบตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง”* ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงการป้องกันน้ำจากการฉีดน้ำ หรือจากการแทรกซึมของน้ำจากการแช่อุปกรณ์ในน้ำแต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนี้ PAT by B.L.T. จึงอยากมาให้คำแนะนำในการติดตั้งและการใช้งานมอเตอร์ประตูรีโมทในช่วงฤดูฝนหลาก เพื่อคลายกังวลยามฝนตกหนักหรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมขังนั่นเอง

ทางออกฉุกเฉิน…เมื่อเกิดน้ำท่วมขังฉับพลัน

ทางออกฉุกเฉิน…เมื่อเกิดน้ำท่วมขังฉับพลัน

หากฝนตกหนักมากจนมีแนวโน้มว่าจะเกิดน้ำท่วมขัง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ควรรีบปิดเบรกเกอร์ แล้วปลดล็อคมอเตอร์เพื่อให้สามารถเข็นประตูเพื่อเปิด-ปิดแทนชั่วคราว โดยสามารถใช้กุญแจที่มาพร้อมชุดประตูรีโมทไขที่ตัวมอเตอร์ได้ การงดการใช้งานประตูรีโมทชั่วคราว จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะแช่น้ำอยู่ อย่างไรก็ตามเมื่อน้ำลด อย่าเพิ่งรีบเปิดเบรกเกอร์เพื่อใช้งาน ควรโทรเรียกเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการเพื่อเรียกให้ช่างเข้ามาดูความเสียหายก่อน

หมดห่วงระยะยาว…ด้วยการทำฐานเพื่อยกมอเตอร์

หมดห่วงระยะยาว…ด้วยการทำฐานเพื่อยกมอเตอร์

หากติดตั้งมอเตอร์ในพื้นที่น้ำท่วมขังบ่อย สามารถแก้ปัญหาในระยะยาวโดยการทำฐานเพื่อยกให้ตัวมอเตอร์สูงขึ้นพ้นระดับน้ำที่อาจเข้ามาในบริเวณนั้นๆ

ซึ่งการทำดังกล่าวจะช่วยไม่ให้น้ำเข้าไปในตัวมอเตอร์และขังเป็นเวลานานจนเสื่อมสภาพ การทำฐานต่างๆ สำหรับมอเตอร์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประตูที่ติดตั้ง โดยช่างผู้เชี่ยวชาญจะเข้าไปสำรวจและทำการปรับแต่งบางส่วนของประตูและสายไฟเพื่อให้ใช้งานกับมอเตอร์ในระดับที่สูงขึ้น โดยทั่วไปแล้วฐานของมอเตอร์ที่ยกสูงจะอยู่ที่ 80-100 ซม. ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงที่มอเตอร์จะแช่อยู่ในน้ำแล้ว ยังอำนวยความสะดวกในการปลดล็อคและช่วยยืดอายุการใช้งานโดยรวมอีกด้วย แต่หากต้องการติดตั้งมอเตอร์ที่ระดับบนสุดของบานประตู ก็สามารถทำได้เช่นกัน

สรุป

สรุป

หวังว่าบทความนี้จะช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับผู้อ่านบางคนที่ประสบภัยน้ำท่วมขังแบบไม่ทันตั้งตัว และช่วยคลายความกังวลเรื่องวิธีการติดตั้งมอเตอร์ประตูรั้วอัตโนมัติในพื้นที่ที่น้ำท่วมขังง่าย โดย PAT by B.L.T. ได้นำเสนอทั้งแนวทางการติดตั้งและการใช้งานยามฉุกเฉินที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านทุกคน นอกจากนั้นอย่าลืมว่ามอเตอร์ประตูอัตโนมัติยังเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องหมั่นดูแลรักษาไม่ต่างไปจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ซึ่งหากเข้าใจและใช้งานอย่างถูกวิธี จะช่วยให้มั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้มากยิ่งขึ้น สุดท้ายนี้ PAT by B.L.T. ผู้บุกเบิกด้านการนำเข้าสินค้าอัตโนมัติ มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมช่างติดตั้งที่พร้อมให้คำแนะนำและความช่วยเหลือตลอด สามารถสอบถามเพิ่มเติมเรื่องค่าบริการการตรวจเช็คหรือปรับแต่งทำฐานมอเตอร์ประตูรั้วได้เลยวันนี้

0

หมายเหตุ : [1] ตารางแสดงมาตรฐานการกันน้ำกันฝุ่น (IP Rating) ในระดับต่างๆ

ความหมายของตัวเลขหลักแรก ความหมายของตัวเลขหลักที่สอง
ความหมายของตัวเลขหลักแรก
0 = ไม่มีการป้องกันใดๆ ได้เลย
1 = มีการป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 มิลลิเมตร ขึ้นไป เข้าในอุปกรณ์
2 = มีการป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 12.5 มิลลิเมตร ขึ้นไป เข้าในอุปกรณ์
3 = มีการป้องกันจากของแข็งที่มีชนาดใหญ่กว่า 2.5 มิลลิเมตร ขึ้นไป เข้าในอุปกรณ์
4 = มีการป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร ขึ้นไป เข้าในอุปกรณ์
5 = มีการป้องกันจากฝุ่นผงละอองเล็กน้อย สามารถมีฝุ่นเล็ดลอดเข้าไปในอุปกรณ์ได้เล็กน้อยแต่ฝุ่นละอองของสารที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่ออุปกรณ์นั้น
6 = การป้องกันจากฝุ่นผงละอองของสารที่อาจทำให้เกิดการกัดกร่อนและสามารถป้องกันฝุ่นได้ 100 %
0
0
0
ความหมายของตัวเลขหลักที่สอง
0 = ไม่มีการป้องกันใดๆ ได้เลย
1 = มีการป้องกันจากหยดน้ำที่หยดลงมาในแนวดิ่ง
2 = มีการป้องกันจากหยดน้ำที่หยดลงกระทบทำมุม 15 องศา จากแนวดิ่ง
3 = มีการป้องกันจากน้ำฝนที่ตกกระทบทำมุม 60 องศาจากแนวดิ่งโดยไม่ก่อเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์
4 = มีการป้องกันจากน้ำได้รอบทุกทิศทางโดยมีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปได้เล็กน้อย
5 = มีการป้องกันจากสายน้ำ (Jet Water) ได้รอบทุกทิศทางโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์
6 = มีการป้องกันจากสายน้ำ (Jet Water) สามารถป้องกันน้ำจากหัวฉีดขนาด 12.5 มิลลิเมตร ได้รอบทิศทางได้โดยมีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปได้เล็กน้อย
7 = มีการป้องกันจากผลกระทบที่เกิดจากการจุ่มลงในน้ำได้ป้องกันการแทรกซึมของน้ำเข้าไปในอุปกรณ์เมื่อนำอุปกรณ์ลงไปแช่น้ำในความลึกสูงสุด 1 เมตร
8 = มีการป้องกันจากผลกระทบที่เกิดจากการจุ่มลงในน้ำภายใต้แรงกดดันได้ ป้องกันการแทรกซึมของน้ำเข้าไปในอุปกรณ์เมื่อนำอุปกรณ์ลงไปแช่น้ำในความลึกที่มากกว่า 1 เมตร